ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง “บรรหาร ศิลปอาชา” พ่อเมืองผู้พัฒนาสุพรรณบุรี

ประวัติโดยสังเขป
ปี 2475 ที่เมืองสุพรรณ เตี่ยเซ่งกิม แม่สายเอ่ง แซ่เบ๊ เจ้าของร้านขายผ้า ให้กำเนิดลูกชายชื่อ “บรรหาร”

ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
ปี 2475 ที่เมืองสุพรรณ เตี่ยเซ่งกิม แม่สายเอ่ง แซ่เบ๊ เจ้าของร้านขายผ้า ให้กำเนิดลูกชายชื่อ “บรรหาร”

นายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (บางแหล่งกล่าวว่าแท้จริงแล้วเกิดวันที่ 19 กรกฎาคม ปีเดียวกัน แต่ที่ปรากฏตามทะเบียนราษฎร์คือวันที่ 19 สิงหาคม) ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของนายเซ่งกิม และนางสายเอ็ง แซ่เบ๊ เดิมมีชื่อว่า นายเต็กเซียง แซ่เบ๊ (馬德祥)

ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา

สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา (สมรสกับ เก๋-สุวรรณา ไรวินท์ ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจ ซุปไก่ก้อนรีวอง) และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส.ปาริชาติ ศิลปอาชา

ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา

นายบรรหารจบการศึกษาชั้นประถมที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพมาเรียนหนังสือชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียนไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง เป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีนให้กับการประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย ต่อมาเมื่อนายบรรหารเป็นนักการเมืองแล้ว จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2529 และศึกษาต่อปริญญาโทนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน

ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา

บรรหารถึงแก่อนิจกรรมในเช้ามืดของวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 ที่โรงพยาบาลศิริราชจากภาวะหอบหืดกำเริบ ศิริอายุ 83 ปี 8 เดือน

ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง “บรรหาร ศิลปอาชา”

ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
ปี 2475 ที่เมืองสุพรรณ เตี่ยเซ่งกิม แม่สายเอ่ง แซ่เบ๊ เจ้าของร้านขายผ้า ให้กำเนิดลูกชายชื่อ “บรรหาร”
ย้อนภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
แม่สายเอ่ง แซ่เบ๊ แม่ของบรรหาร เป็นเจ้าของร้านขายผ้าย่งหยูฮง ในตลาดทรัพย์สิน ท่าพี่เลี้ยง


ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
ไม่อยากเย็บผ้า บรรหาร วัย 17 ทิ้งท่าพี่เลี้ยง ลง”เมล์แดง” เข้าพระนคร ไปทำงานกับพี่ชาย แถวหลานหลวง
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
เพราะเคยเย็บผ้ากับแม่ บรรหาร ฝันอยากเปิดร้านตัดสูทในพระนคร แต่ฝันไม่เป็นจริง จึงหันไปจับงานก่อสร้าง
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
จุดเปลี่ยน..ชีวิตในพระนคร บรรหารอาศัยอยู่กับพี่ชายย่านหลานหลวง ได้เรียนรู้การทำมาหากินและเรียนบัญชี
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
บรรหารศึกษาจากไทยยงก่อสร้าง ตัดสินใจตั้ง บ.สหะศรีชัยก่อสร้าง ที่ตึกแถวหลานหลวง มีโต๊ะทำงานตัวเดียว
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
บ.สหะศรีชัยฯ อยู่หลานหลวง ทุกวันราชการตอนเที่ยง บรรหารจะหิ้วโอเลี้ยงไปฝาก ขรก.กรมโยธาเทศบาล ผ่านฟ้า
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
ก่อร่างสร้างตัวได้ บรรหารหอบเงิน 8 หมื่นนั่งเมล์แดงกลับสุพรรณ ไปแต่งงานกับ “แจ่มใส”สาวในตลาดเดียวกัน
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
บรรหารแอบชอบ “แจ่มใส” ลูกคนสุดท้องของแม่ทับทิมมานาน แต่มีอุปสรรค ตรงที่สาวมีฐานะดีกว่าบรรหาร
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
หลังแต่งงาน กิจการก่อสร้างของบรรหารเจริญรุ่งเรือง และแจ่มใส ได้ให้กำเนิดลูกคนแรกคือ หนูนา
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
นี่คือ รถคันแรกของบรรหาร ราคา 4 หมื่นบาท เขาภูมิใจมาก วิ่งรอกกรุงเทพ-สุพรรณ ใช้เส้นมาลัยแมน
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
ตอนบรรหาร อายุ 16 ขอเงินเตี่ยซื้อเรือแท็กซี่จูงเรือพ่วง เพราะอยากหนีความจำเจของ “เด็กในตลาด”
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนทิ้งถิ่นสุพรรณเข้าพระนคร บรรหารไปบนเจ้าพ่อศาลหลักเมือง หากลูกร่ำรวยจะกลับมาสร้างศาลให้ใหญ่โต
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
ปลายปี 2516 บรรหารถูกตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พอหลังเลือกตั้งปี 2518 เขาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ นี่คือปฐมบททางการเมือง
เลือกตั้ง 4 เม.ย.19 บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.เก่าเมืองสุพรรณ กล่อมบรรหาร จนลงสมัคร ส.ส.สมัยแรก
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
บรรหารในวัย 36 มั่งมีศรีสุข จึงสร้าง “โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1” อ.ดอนเจดีย์ แล้วตามมาอีก 2 3 4 5
คนสุพรรณก่อนปี 2516 รู้แต่ว่า “บรรหาร” เป็นคนใจบุญสุนทาน สร้างโรงเรียน วัด ศาลเจ้า อาคาร รพ. คนส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นตัวจริง
ปี 2516 บรรหารลงสมัครสมาชิกสภาเทศบาลฯ พอชนะเลือกตั้ง พรรคพวกอยากให้เป็นนายกเทศมนตรี แต่บรรหารไม่รับ ขอเป็น ส.ท.อย่างเดียว
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
บรรหารหาเสียงสมัยแรก ต้องวงเล็บ”แจ่มใส” ไว้ท้ายนามสกุล เพราะคนสุพรรณรู้จักแต่บรรหาร นามสกุลแจ่มใส
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
ปี 19 สมัคร ส.ส.สมัยแรก บรรหารได้คะแนนอันดับ 1 ของประเทศ แถมได้เป็น รมช.อุตสาหกรรม อยู่ 5 เดือน
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
รัฐประหาร2519 บรรหารตกงาน พอเกิดรัฐประหาร2520 เขากลับมาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติอีกครั้ง
เลือกตั้งปี 2522 บรรหารไม่ได้ลงสมัคร ส.ส. เพราะ รธน.22 ระบุคนสมัคร ส.ส.ต้องจบ ม.8 ตอนหลังแก้ไข รธน. เขากลับมาสมัคร ส.ส.อีก
นับแต่เลือกตั้งปี 2526 ส.ส.สุพรรณ 5 คน จะเป็นกลุ่มบรรหาร 4 คน มีจองชัย เที่ยงธรรม เบียดแทรกเข้ามาได้ เป็นแบบนี้อยู่ 3 สมัย
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
เมื่อ “จองชัย” ย้ายเข้ามาอยู่ในกลุ่มบรรหาร การเมืองสุพรรณ ก็ถูกยึดครองโดยกลุ่มบรรหารและพรรคชาติไทย
สมัยบรรหารหนุ่มๆ จะเข้ากรุงเทพใช้เรือเมล์แดง หรือทางรถก็อ้อมไปนครปฐม ถ.มาลัยแมน พอเขาเป็น รมต.จึงตัดถนนตลิ่งชัน-สุพรรณ
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
ชั่วชีวิตบรรหาร ยึดแม่เป็นครู แม่ละเอียดกับทุกชิ้นงาน รอบคอบ อดทน ตระหนี่ทั้งเวลา/เงินทอง
ด้วยรักและอาลัย เรารักสุพรรณบุรี We Love Suphanburi
ย้อนรำลึก ภาพเก่าเล่าเรื่อง บรรหาร ศิลปอาชา
ขอขอบคุณ ผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ และพรรคชาติไทย ที่ผมได้นำข้อมูลและภาพ มาเผยแพร่ในวันนี้
ที่มาผู้เผยแพร่ข้อมูลจาก @can_nw แคน สาริกา



เราชาว ‪#‎สุพรรณบุรี‬ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง
ด้วยรักและอาลัย
Facebook page : เรารักสุพรรณบุรี We Love Suphanburi

ที่มาเรื่องและภาพโดย / @can_nw แคนสาริกา
ที่มาข้อมูล http://th.m.wikipedia.org/wiki/บรรหาร_ศิลปอาชา
‪#‎บรรหาร‬ ‪#‎เมืองสุพรรณ‬ #สุพรรณบุรี

#เที่ยวไหนดี ไปเที่ยว ไปกิน ไปช็อป ที่ไหน เราจะมารีวิวให้ดู
www.facebook.com/tiewnaideereview
http://www.tiewnaidee.com/

แสดงความคิดเห็น